มือถือเสี่ยงเนื้องอก 60 %วางไว้ที่หัวนอน
สบท. ชี้ชัด ผู้ใช้มือถือไทยกว่า 60% วางมือถือไว้หัวนอน เสี่ยงเนื้องอก 24 ชั่วโมงย้ำข้อมูลมะเร็งของฮู
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศาผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมหรือ สบท. เปิดเผยว่า ผลสำรวจของ สบท.ที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบคโพลล์ พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกในสมอง โดยได้รับคลื่นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่แม้ไม่ได้ใช้งาน จากพฤติกรรมนิยมวางโทรศัพท์มือถือไว้ที่หัวเตียงพร้อมกับเปิดเครื่องไว้ในเวลานอนสูงถึง 64.5%
ผลสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลทางวิชาการขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยก่อมะเร็งประเภท 2B หรือเป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง และกลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มากกว่า 1,640 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเป็นมะเร็งสมองชนิด Glioma หรือเนื้องอกในสมองข้างเดียวกับที่ใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับคลื่นสูงที่สุด
นอกจากนี้ ยังเสี่ยงเกิดเนื้องอกส่วนอื่นๆ ซึ่งผู้ใช้นิยมใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกง หรือกระเป๋ากระโปรง 41.6%
การป้องกันหรือลดความเสี่ยงเบื้องต้น คือ ให้ใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรี หรือระบบบลูทูธ
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Relate topics
- กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยแอมเฟตามีนที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจิตและมีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMIV)
- กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยเฮโรอีนที่มีภาวะโรคจิตเวชร่วม
- โครงการวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนของผู้ใช้เมทแอมเฟตามีน
- กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ พฤติกรรมก้าวร้าว
- กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทยาเสพติดที่มีอาการหวาดระแวง
- กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยแอมเฟตามีน ที่มีโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวงในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ
- กรณีศึกษา ผู้ป่วยติดสุรามีอาการทางจิตเวชและมีพฤติกรรมก้าวร้าว
- กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย
- กรณีศึกษา การพยาบาลผู้เสพติดยาในวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมความรุนแรง
- กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความผิดทางบุคลิกภาพพฤติกรรมก้าวร้าว