`สะเดา` หวานเป็นลมขมเป็นยา

by kadocom @17-2-58 11.28 ( IP : 1...18 ) | Tags : ข่าวหน้าหนึ่ง
photo  , 500x332 pixel , 46,561 bytes.

ถ้าพูดถึง"สะเดา" เราต้องนึกถึงสมุนไพรรสขมที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งนึกนึกถึงเมนูสูตรเด็ด"สะเดาน้ำปลาหวาน" ที่กินคู่กับกุ้งเผา,ปลาดุกย่าง หรือปลาทูทอด รับรองว่าอร่อยเหาะสุดๆ


          ข้อมูลของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า สะเดาเป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการเต็มเปี่ยม อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย ที่จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมาได้ เช่น ภาวะความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ระบบภูมิคุ้มกันลดลง และโรคมะเร็งเป็นต้น


          ซึ่งสะเดาไทยมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ สะเดายอดเขียวและสะเดายอดแดง ซึ่งสะเดายอดเขียวจะมีความขมน้อยกว่าหรือบางต้นอาจจะขมน้อยจนได???ชื่อว่า สะเดาหวานหรือสะเดามัน แต่สำหรับสะเดายอดแดงจะมีความขมมากกว่า


          สรรพคุณทางยาที่มีต่อสุขภาพ


          1. ดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกายใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ก็จะช่วยให้เลือดสะอาด เป็นการล้างพิษในกระแสเลือด กระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น


          2. รักษาโรคผิวหนังสารเกดูนิน (Gedunin) และ นิมโบลิดี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดสะเดามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ดังนั้น จึงสามารถบรรเทาอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรียได้ผลอย่างชะงัดนัก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก-เกลื้อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผดผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส


          3. แก้ไข้มาเลเรียสารเคมีกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิและ นิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (P.Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ???


          4. โรคไขข้อขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขข้อได้ โดยช่วยลดอาการปวด และบวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ทาในบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้???อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน


          5. ช่วยย่อยอาหารใบสะเดา สามารถนำมาทำเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี ที่จะมีผลให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะช่วยย่อยอาหารประเภท???ไขมันได้ดีขึ้นด้วย


          6. บำรุงสุขภาพช่องปากตามตำราอายุรเวทแล้ว สะเดาเป็นพืชที่มีคุณสมบัติบำรุงเหงือกและฟัน จึงนิยมนำมาสกัดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป จึงช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก


          7. ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกและมะเร็งมีผลวิจัยบางชิ้นเผยว่า สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ที่พบในเปลือก ใบ และผลสะเดา มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็ง โดยไม่ก่อผลข้างเคียงใด ๆ


          8. คุมกำเนิดตามตำราแพทย์อารยุรเวทบันทึกไว้ว่ามีการใช้น้ำมันสะเดาเพื่อคุม???กำเนิดในผู้หญิงและผู้ชาย โดยลักษณะวิธีใช้จะต่างกัน สำหรับผู้หญิงนั้นจะใช้น้ำมันสะเดาชุบสำลีทาบริเวณปากในช่องคลอ???ดเพื่อชะลอการปฏิสนธิกับไข่ โดยจะฆ่าเชื้ออสุจิให้ตายภายใน 30 วินาที ส่วนผู้ชายจะใช้ฉีดน้ำมันสะเดาบริเวณท่อนำอสุจิ เพื่อยับยั้งการปล่อยอสุจิที่จะออกฤทธิ์นานประมาณ 4 ชั่วโมง


          9. บำรุงข้อต่อสะเดาช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายเรา และยังช่วยบรรเทาอาการจากโรคไฟโบรไมอัลเจีย(Fibromyalgia) หรือโรคในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังอีกด้วย


          10. เบาหวานสะเดามีรสขมสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ โดยจะยับยั้งการผลิตอินซูลินได้กว่าร้อยละ 50 และยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหารได้อีกด้วย


          11. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรคสะเดามีฤทธิ์ดีท็อกซ์สารพิษในกระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดดีหมุนเวียนในร่างกายมากขึ้น ลดการติดเชื้อในร่างกาย ต้านโรคหวัดได้ดี


          12. ต้านมะเร็งสารพอลิแซ็กคาไรด์ และสารลิโมนอยด์ที่พบมากในผล ใบ และเปลือกของต้นสะเดา มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย ที่อาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งในเวลาต่อมา


          13. ลดการติดเชื้อในช่องคลอดน้ำมันสะเดา สามารถช่วยลดการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงคือ หากใช้เป็นเวลานาน จะมีโอกาสตั้งท้องยากขึ้น


          14. บำรุงหัวใจผลของต้นสะเดา หากนำมาต้ม ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติขึ้น ปรับสมดุลจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ หัวใจจึงแข็งแรงขึ้น


          ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายและครบ 5 หมู่ ควบคู่ไปด้วย เพื่อสุขภาพร่างกายที่สมดุลและแข็งแรงค่ะ



          ที่มา: เว็บไซต์หนังสือพิมพ์แนวหน้า

          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

http://www.thaihealth.or.th/Content/27413-%27%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B2%27%20%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2.html

Relate topics

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล