ความหมายยาเสพติด+ยาเสียตัว ตอน 2

by Wisut @1-3-48 22.24 ( IP : 203...33 ) | Tags : สาระน่ารู้

ยาเค (Katamine)

ยาเค ยาเค มาจากคำว่า เคตามีน (ketamine) หรือชื่อทางการค้าว่า เคตาวา (Ketava) หรือเคตาลา (Ketalar)หรือคาสิบโชล ซึ่งตามพระราชบัญญัตวัตถุออกฤทธฺ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เป็นวัตถุออกฤทธฺ์ในประเภท 2 หมายถึง ยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วย เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

ยาเคถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้เป็นยาสลบ มีชื่อเรียกในวงการแพทย์ว่า "Ketamine HCL." มีลักษณะเป็นผงสีชา และเป็นน้ำบรรจุอยู่ในขวดสีชา การนำไปใช้นั้นปกติแพทย์จะใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดในอัตรา 1 ถึง 2 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยยาจะออกฤทธิ์ทำให้หมดสติภายในเวลา 1 นาที หรืออาจใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่วิธีนี้จะใช้ปริมาณยามากกว่าการฉีดเข้าเส้นเลือดประมาณ 3 เท่า อาการหมดสติจากการใช้ยาเคจะเป็นอยู่นานประมาณ 10 - 15 นาที เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ยาเคจึงถูกนำมาใช้ในกรณีของการผ่าตัด ที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ หรือใช้ทำให้ผู้ป่วยสลบก่อนที่จะผ่านไปสู่การใช้ยาสลบชนิดอื่น

สาเหตุที่ทำให้ยาเคกลายเป็นปัญหา เพราะวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำยาเคมาใช้เป็นสิ่งมึนเมา โดยนำมาทำให้เป็นผง ด้วยกรรมวิธีผ่านความร้อน จากนั้นจึงนำมาสูดดมเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และมักพบว่ามีการนำยาเค มาใช้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น เช่น ยาอี และโคเคน

ยาเค ยาเค เป็นยาที่ออกฤทธิ์หลอนประสานอย่างรุนแรง เมื่อเสพเข้าไปจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม (Euphoria) รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ (Mystical) มีอาการสูญเสียกระบวนการทางความคิด ความคิดสับสน การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียงจะเปลี่ยนแปลงไป ตาลาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน หากใช้ปริมาณมากจะเกิดการติดขัดในการหายใจ (Respiratory depression) อาการที่ไม่พึ่งประสงค์เหล่านั้น (Bad Trip) จะปรากฎให้เห็นคล้ายกับอาการทางจิต ซึ่งหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะปรากฎอาการเช่นนี้อยู่บ่อย ๆ เรียกว่า Flashback ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะทำให้ผู้เสพประสพกับสภาวะโรคจิต และกลายเป็นคนวิกลจริตได้

ฤทธิ์ในทางเสพติด : ยาเคออกฤทธิ์หลอนประสาท

อาการผู้เสพ : เคลิบเคลิ้ม มึนงง ความคิดสับสน ตาลาย หูแว่ว การรับรู้และการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน

โทษที่ได้รับ :

การนำยาเคมาใช้ในทางที่ผิด ย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้ โดยทำให้เกิดผล ดังนี้

  1. ผลต่ออารมณ์ มีความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม มึนงง หรือที่เรียกว่าอาการ "Dissociation"
  2. ผลต่อการรับรู้จะเปลี่ยนแปลง การรับรู้ทั้งหมดในขณะเสพ ไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียง
  3. ผลต่อร่างกายและระบบประสาท เมื่อใช้ยาเคในปริมาณมาก ๆ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดอาการติดขัดในการหายใจเท่านั้น ยังทำให้เกิดอาการทางจิต ประสาทหลอน หูแว่ว กลายเป็นคนวิกลจริตได้

แอลเอสดี (LSD) หรือ กระดาษเมา

กระดาษเมา กระดาษเมา ลักษณะทั่วไป สารแอลเอสดี มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น สกัดได้มาจากเชื้อราที่เกิดขึ้นบนเม็ดข้าวไรย์ เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ร้ายแรงในการหลอนประสาท (จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๑ ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.๒๕๑๘) แอลเอสดี ส่วนใหญ่ที่พบจะอยู่ในรูปของ เม็ดยากลมแบน กลมรี แคปซูล ชนิดอัดเม็ดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ชนิดแผ่นบาง ๆ คล้ายแสตมป์ (MAGIC PAPER) และชนิดน้ำบรรจุอยู่ในหลอดแก้ว ในอดีตทางการแพทย์เคยใช้เป็นยาเพื่อรักษาคนไข้โรคจิตบางประเภท แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เนื่องจากพบว่าแอลเอสดีมีฤทธิ์ในการหลอนประสาทอย่างรุ่นแรง มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ระบบประสาทเกิดอาการแปรปรวน อารมณ์และจิตใจเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ มีพฤติกรรมก้าวร้าวเพ้อฝันในสิ่งที่ไปไม่ได้ ตลอดจนทำให้เกิดอาการติดยา สุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม

LSD อาการผู้เสพติด แอลเอสดี ผู้ที่เสพ แอลเอสดี เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ฤทธิ์ของแอลเอสดี จะทำให้เกิดอการประสาทหลอน ใจสั่น ความดันโลหิตสูง เพ้อฝัน เกิดอารมณ์หลอนตนเอง มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรง ขาดสติสัมปชัญญะ เช่น คิดว่าตนเองเก่ง สามารถเหาะได้ เห็นกิ่งไม้เป็นงู และหากเสพในปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอนอย่างรุนแรง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ กล้ากระทำในสิ่งต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง ซึ่งในขณะปกติไม่สามารถกระทำได้ เช่น ทำร้ายตนเองกรีดท้อง กรีดแขน เกิดอารมณ์อยากฆ่าตัวตาย มีความกล้าอย่างบ้าบิ่น อาจถึงขั้นกระทำอัตวินิบาตกรรมได้นอกจากนั้นแล้ว ผู้ที่เสพยาประเภทนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการโรคจิตเรื้อรัง

บาร์บิทูเรต (BARBITIRATE)

ลักษณะทั่วไป

ลักษระของยาชนิดนี้มีหลายลักษระ เช่น เป็นเม็ดแบน เม็ดกลม เม็ดยาวรี เป็น แคปซูล มี ๕ สีต่างกัน เช่น สีขาว ชมพู เขียว ฟ้า ฯลฯ มีฤทธิ์ในการกดประสาท (จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๓ ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.๒๕๑๘) ทางการแพทย์ใช้ประโยชน์ในการรักษาหรือระงับอาการโรคประสาทบางประเภท ใช้เป็นยานอนหลับยาชนิดนี้ใช้กันมากในกลุ่มผู้หญิงบริการ นักร้อง และผุ้ที่ทำงานกลางคืน นิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า เหล้าแห้ง หรือ เซโคนาล หรือปีศาจแดง

อาการผู้เสพติดบาร์บิทูเรต

บาร์บิทูเต หรือเหล้าแห้ง ปีศาจแดง มีฤทธิ์ในการกดประสาท ผู้ที่เสพจะเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน มึนเมา เซื่องซึม พูดจาไม่รู้เรื่อง มีอาการคล้ายคนเมาเหล้า อารมณ์เฉื่อยชาหงุดหยดสับสน เดินเซไปมา บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ฤทธิ์ของยาชนิดนี้ สามารถทำให้ผู้ที่เสพเกิดอาการที่ก้าวร้าวกล้ากระทำสิ่งต่าง ๆ ได้โดยขาดความยั้งคิด โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หรือศีลธรรมขาดความรับผิดชอบ และหากเสพเกินขนาด ผู้เสพอาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากฤทธิ์ของยาจะไปกดประสาทอย่างรุ่นแรง ทำให้หลับหรือช็อดเสียชีวิตในเวลาต่อมา

สารระเหย (VOLATILE SOLVENT)

ลักษณะทั่วไป

สารระเหย สารระเหย คือ สารที่ได้มาจากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตเลียม มีลัษณะเป็นไอระเหยได้รวดเร็วในอากาศ มีฤทธ์ในการกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชกำหนดการป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.๒๕๓๓) สารระเหยจะพบเห็นอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ แลคเกอร์ สีพ่น กาวน้ำ กาวยาง น้ำยาล้างเล็บ ฯลฯ มีลัาษณะเป็นของเหลวเฉพาะตัว ระเหยได้ดี สามารถดูดซึมได้รวดเร็ว นิยมนำมาเสพโดยวิธีการสูโดมเข้าสู่ร่างกาย

สารระเหยที่แพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าชนิดใดมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเช่น สาร TOLUENE,ACETONE,ETHYL ACETATE,METHYL ACETATE ฯลฯ เป็นส่วนผสมอยู่เมื่อสูดดมสารระเหย สารพิษต่างๆ จะผ่านทางเดินหายใจ เข้าสู่กระแสโลหติและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบประสาท ตับ ไต หัวใจ กล้างเนื้อ ฯลฯ สารพิษ TOLUENE บางส่วนจะถูกกำจัดออกมาทางปอด จึงมักได้กลิ่นสารระเหยจากลมหายใจของผู้เสพ

อาการผู้เสพติสารระเหย

ผู้ที่เสพจะได้รับอาการเป็นพิษจากการสูดดมสารระเหยใน ๒ ลักษณะ ดังนี้คือ

  1. พิษระยะเฉียบพลัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นทันทีทันใด หลังการเสพสารระเหย ประมาณ ๑๕ - ๒๐ นาที ในระยะแรกจะทำให้ผู้เสพมีอาการตื่นเต้น ความรู้สึกเป็นสุข ร่าเริง ต่อมาจะมีอาการเหมือนคนเมาสุรา (แต่ไม่มีกลิ่นสุรา) พูดจากอ้อแอ้ไม่ชัดเจน ความคิดสับสนควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุภายในปาก และจมูก ตามีความไวต่อแสงมากขึ้น หูแว่ว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ฤทธิ์ของสารระเหยจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้เสพนอนไม่หลับ มีอาการเพ้อฝัน หลังจากนั้นจะเกิดอาการ เหม่อซึม ง่วงเหงาหาวนอน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไอ คลื่นไส้ ใจสั่น ชักและเกร็ง อาจหมดสติได้และหากสูดดมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเกินขนาด ฤทธิ์ของสารระเหยจะไปกดศูนย์การหายใจ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ อาจถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว
  2. พิษเรื้อรัง ผู้ที่สูดดมสารระเหยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาย ๆ ระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะถูกสารพิษจากสารระเหยทำลาย ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการไอเรื้อรังหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ โรคมะเร็งปอด ไตอักเสบ การทำงานของหัวใจผิดปกติ โรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้สารพิษ "โทลูอีน" (TOLUENE) จะทำลายเซลล์ประสาท ระบบประสาทและสมองทำให้สมองเสื่อม ความจำเสื่อมหลงลืม อาจถึงขั้นพิการทางสมองกลายเป็นโรค "สมองฝ่อถาวร" ระบบกล้ามเนื้อของร่างกายจะทำงานไม่ประสานกัน กล้ามเนื้อจะลีบลง มือสั่น การทรงตัวไม่ดี เดินเซไปเซมา อาจเป็นอัมพาตที่แขนหรือขา ตลอดจนเกิดโรคชาตามปลายมือปลายเท้า บางรายจะมีอาการทางประสาท

สำหรับผู้ที่ติดสารระเหย เมื่อไม่ได้เสพจะมีอาการขาดยา เกิดอาการ หงุดหงิด ง่วงเหงา หาวนาน ปวดท้อง เหงื่อออกมาก ปวดตามกล้ามเนื้อ ความคิดฟุ้งซ่อน มีพฤติกรรมก้าวร้าว นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย เจ็บหน้าอก คลื่นไส้และอาเจียน สารระเหยเป็นสิ่งเสพติด ที่มีความร้ายแรงกว่ายาเสพติด ประเภทอื่นเป็นอย่างมาก เพื่อนอกจากจะเสพติดง่ายแล้วยังก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ อีกมากมายโดยเฉพาะ โรคสมองฝ่อถาวร ปัจจุบันวงการแพทย์ได้ยืนยันว่า ยังไม่มียาหรือวิธีการใด ๆ ที่จะสามารถ รักษาโรคสมองฝ่อให้หายกลับคืนเป็นปกติได้[/color]

สุรา (Alcohol)



สุรา กล่าวกันว่าสุรามีใช้ตั้งแต่สมัยหินเก่า ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตศักราชโดยทำจากผลไม้ และใช้เป็นเครื่องดื่ม มีการนำมาใช้ในการแพทย์ และในพิธีกรรมทางศาสนา ต่อมามีการพัฒนามากขึ้น ทำให้สุรามีความเข้มข้นมากขึ้น และใช้ดื่มเพื่อความมึนเมาแพร่หลายไปในสังคมต่าง ๆ มากขึ้น แต่ไม่มีใครกล่าวถึงพิษภัยจากสุราว่าเป็นโรคโดยตรง จนกระทั่งประมาณ ค.ศ.๑๘๑๑ Benjamin Rush แพทย์ชาวอเมริกัน และ Thomas Trotter แพทย์ชาวอังกฤษได้จัดให้พิษจากสุราเป็นโรคอีกชนิดหนึ่ง และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ในหมู่แพทย์ประมาณครึ่งหลังของคริสศตวรรษที่ ๑๙ รวมทั้งมีการเปิดสถาบันเพื่อรักษาปัญหาการติดสุราด้วย

การติดสุรา คือสภาวะทางจิตใจ ซึ่งมักเกิดร่วมกับร่างกาย อันเป็นผลมาจากการดื่มสุรา โดยแสดงลักษณะทางพฤติกรรม หรือการตอบสนองบางอย่าง ได้แก่ การอยากดื่มซ้ำอีกติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้จิตใจสบาย และบางทีเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายกายจากการที่ได้ได้ดื่มด้วย อาจมีการเพิ่มปริมาณสุราที่ดื่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่เพิ่มก็ได้

สาเหตุของการติดสุรา

  1. ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ พบว่า ประมาณร้อยละ ๒๕ ของบิดาและพี่น้องผู้ชายผู้ติดสุราก็มักจะติดสุราด้วย
  2. ปัจจัยทางจิตใจ พบว่า ผู้ที่กำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย ๆ เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบปกป้องและตามใจมากเกินไปหรือการที่มโนธรรม (Super-ego) ของคนคนนั้นไม่มั่นคง ขาดแบบอย่างที่ดีที่จะลอกเลียนบุคลิกลักษณะ รวมทั้งผู้ที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนบางชนิด เช่น บุคลิกภาพแบบอันธพาลก็พบว่ามีอัตราการติดสุราได้สูง
  3. ปัจจัยทางสรีรวิทยา สุรามีฤทธิ์ลดความวิตกกังวล ตึงเครียดไม่สบายใจ เนื่องจากสุราไปลดสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เหล่านั้น นอกจากนั้นสุราเมื่อสลายตัวจะเกิด อะซีตาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมองโดยทำให้เกิดการติดยา (dependence) และการทนยา (tolerance) ขึ้น
  4. ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม พบว่า เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นประชากรก็จะดื่มสุรามากขึ้น หรือเมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้น ๆ ประชากรก็ใช้สุราเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ผลของสุราต่อสรีรวิทยาของร่างกาย

สุรา เมื่อดื่มเข้าไปสุราเกือบทั้งหมดจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แล้วจะกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีน้ำประกอบอยู่ แอลกอฮอล์สามารถผ่านรกได้ เพราะฉะนั้นทารกในครรภ์ที่แม่ดื่มสุราก็จะได้รับสุราด้วยเช่นกัน มักจะถูก เอนไซม์ alcohol dehydrogenase ในร่างกายเปลี่ยนแปลงเป็นสารอื่น และให้พลังงาน แอลกอฮอล์ไม่ใช่อาหาร จะไม่ถูกเก็บสะสมในร่างกายดังนั้นตัวแอลกอฮอล์เองไม่ทำให้อ้วน มักถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายในอัตราที่แน่นอน และไม่เพิ่มอัตราตามความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด ดังนั้นถ้าดื่มจัดหรือดื่มเร็วเกินไปร่างกายจะขับออกไม่ทัน ทำให้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินไปจนเป้นอันตราต่อร่างกายได้ สุรามีผลต่อสรีรวิทยาของร่างกายรวมทั้งสมอง ถ้าดื่มจัดและติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดพยาธิสภาพแก่ ร่างกายและเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม

ลักษณะอาการของการติดสุรา

ระยะแรกผู้ดื่มทั่วไปมักจะดื่มเฉพาะตอนบ่าย ในวันหยุดกับเพื่อน ๆ แต่เมื่อการทนสุราเพิ่มขึ้นเขาก็จะดื่มมากขึ้นและเพิ่มระยะเวลาที่ดื่มด้วยบางครั้งอาจจะดื่มตามลำพังและมีการปิดบังแอบซ่อนขวดเหล้าหรือแอบดื่ม เพื่อไม่ให้คนรู้ว่าดื่มสุรา พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้บางคนรู้สึกผิด เสียใจ วิตกกังวล และอาจมีอาการอื่นเกิดร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด ใจสั่น เจ็บหน้าอก และหายใจหอบ ซึ่งถ้าให้เขาดื่มมากขึ้นอีกเพื่อให้ความรู้สึกดังกล่าว หายไปชั่วคราว แต่เมื่อยิ่งดื่มก็ยิ่งเศร้า และกังวลเป็นวงจรอยู่เช่นนี้ความรู้สึกเสียใจนี้อาจจะรุนแรงในตอนเช้า เมื่อเขาขาดสุราหลาย ๆ ชั่วโมง ทำให้เขาต้องดื่มในตอนเช้าหรือระยะที่ผู้ป่วยมักจะดื่มจัดจนเกิดอาการเมาในตอนเย็นบ่อย ๆ ทำให้เกิดอาการเมาค้าง (Hangover) ในตอนเช้า และต้องดื่มซ้ำในตอนเช้า เพื่อให้อาการหมดไป จากนั้นก็จะดื่มเรื่อย ๆ ไปตลอดวัน

ปัญหาแทรกซ้อนของการติดสุรา

  1. ปัญหาสมรส พบว่ามีปัญหาความไม่ปรองดองระหว่างคู่สมรส หย่าร้าง หรือสุขภาพจิตของบุตรไม่ดี
  2. ปัญหาเรื่องงาน ประสิทธิภาพการทำงานของคนติดสุราจะต่ำลง ความรับผิดชอบลดลง
  3. ปัญหาอุบัติเหตุ โดยเฉพาะของรถยนต์ พบว่า ผู้ดื่มสุราถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ๘๐ มิลลิกรัมต่อเลือด ๑๐๐ มิลลิกรัม (๐.๐๘ เปอร์เซ็นต์) จะทำให้การปรับสายตาต่อความมืดเสียการตัดสินใจต่อการแซง การเข้าใจความหมายของสัญญาณไฟต่าง ๆ สมาธิในการขับรถยนต์นาน ๆ ก็จะเลวลง มีการศึกษาพบว่า ผู้ดื่มสุราที่มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ๑๐๐ มิลลิกรัม ต่อเลือด ๑๐๐ มิลลิลิตร (๐.๑ เปอร์เซ็นต์) จะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็น ๑๐ เท่า ของคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา
  4. ปัญหาอาชญากรรม
  5. ปัญหาการฆ่าตัวตาย
  6. ปัญหาสุขภาพ ซึ่งอาจแบ่งเป็น ๓ พวก คือ

- ผลเฉียบพลันจากการดื่มหนัก เช่น การตายจากสุรากดศูนย์หายใจที่สมองตับอ่อนอักเสบรุนแรง - ผลเรื้อรังจากการดื่มหนักเป็นเวลานาน เช่น กระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผล ตับอักเสบ ตับแข็ง โรคของระบบประสาท โรคของกล้ามเนื้อ โรคของเลือด หรืออื่น ๆ เช่น วัณโรคปอด ความดันโลหิตสูง เป็นต้น - ผลที่เกิดจากการหยุดดื่ม โดยเฉพาะถ้าดื่มจัดและหยุดดื่มทันที แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะเกิดอาการขาดสุราซึ่งมีอันตรายได้

การรักษา

  1. รักษาสภาวะขาดสุราซึ่งมักจะเกิดอาการอยู่ประมาณ ๑ สัปดาห์ ได้แก่อาการนอนไม่หลับหงุดหงิด กระสับกระส่าย อาการสั่น หรืออาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น อาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน โดยการให้ยา วิตามินในขนาดสูง การป้องกันอาการชัก หรือรักษาภาวะแทรกซ้อนทางกายต่าง ๆ
  2. รักษาการติดสุรา เริ่มเมื่ออาการขาดสุราหมดไปแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หยุดดื่มสุราได้ตลอดไป ซึ่งอาจดำเนินการโดยให้การรักษาจิตบำบัด การให้ยากล่อมประสาทและยาแก้อารมณ์เศร้าพฤติกรรมบำบัด การเข้าร่วมประชุมกลุ่มผู้ติดสุรา เป็นต้น[/color]

บุหรี่

บุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดบุหรี่เป็นสารเสพติด้วยอีกชนิดหนึ่ง ในขณะที่หลายแหล่งในโลกนี้ยอมรับบุหรี่เป็นสิ่งที่ใช้บริโภคตามกฎหมาย ปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ยอมรับว่า บุหรี่มีอันตรายมากมายทั้งต่อผู้สูบเองและคนรอบข้าง

ในบุหรี่มีสารหลายอย่างซึ่งล้วนแต่ให้โทษต่อร่างกายทั้งนั้น คือ

  • นิโคติน (NICOTIN) ทำให้คนติดบุหรี่เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันไม่มีสีไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์ถ้าฉีดสารนี้ ๑ หยด ขนาด ๗๐ มิลลิกรัม ในขนาดความเข้มข้นที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงเข้าไปในคนปกติจะตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที ๙๕% ของนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกาย จะไปจับอยู่ที่ปอดบางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งของสารอิพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้ความดันเลือดสูง หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดรัดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด ฯลฯ
  • ทาร์ (TAR) ประกอบด้วยสารหลายชนิด มีลักษณะเป็นละอองของเหลวที่เป็นยางสีน้ำตาลเข็มคล้ายน้ำมันดิน ส่วนใหญ่เป็นสารที่มีอันตราย เช่น เบนโซพัยรีน (Benzopyrene) ได้มีการทดลองเอาเบนโซฟัยรินขนาดเจือจาง ๑:๑,๐๐๐ ใส่ในเม็ดพาราฟิน และฝังในกระพุ้งแก้มของหนูแฮมเตอร์ ๒๕ สัปดาห์พบว่า ๙๐ % ของหนูเหล่านั้นจะเป็นมะเร็งในปาก ๕๐ % ของทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เซลล์ไม่สมารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ เมื่อรวมตัวกับฝุ่นที่เราสูดเข้าไปแล้ว ก็จะขังอยู่ในถุงลมของปอด ทำให้เกิดการระคายเคือง อันเป็นสาเหตุของการไอก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด และถุงลมโป่งพอง
  • คาร์บอนมอนนอกไซค์ (CARNON MONOXIDE) เป็นก๊าซที่มีความเข้มข้นมากในควันบุหรี่เกิดจากการเผาไหม้ของใบยา จะชัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลงไม่ต่ำกว่า ๑๐ - ๑๕ % หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้น ทำงานมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้พอ ทำให้มีอาการปวดหัว คลื่นไส้กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีแรง
  • ในโตรเจนไดออกไซด์ (NITROGEN DIOXIDE) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพองเช่นเดียวกับทาร์ เพราะไม่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม
  • **แอมโมเนีย (AMMONIA)* มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ มีอาการไอ และเสมหะมาก
  • ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HYDROGEN CYANIDE) เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในสงครามก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะและหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • สารกัมมันตภาพรังสี ในควันบุหรี่จะมีสารโพโลเนียม –๒๑๐ ที่มีรังสีแอลฟาอยู่ กัมมันตภาพรังสีของสารนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง ๕๐ % ของการเกิดมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่ มีสาเหตุมาจากสารกัมมันตภาพรังสีนี้
  • **ควันบุหรี่ **เป็นพาหะที่ร้ายแรงในการนำสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้าง แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ก็หายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไปทำให้ได้รับสารนี้ด้วย
  • แร่ธาตุต่าง ๆ มีแร่ธาตุบางอย่าง เช่น โปแตสเซียม โซเดียม แคลเซียม ทองแดง นิเกิล และโครเมียม อันเป็นสาร ตกค้างในใบยาสูบหลังจากการพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อร่างกายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนิเกิลทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่น จะกลายเป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

มีการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ทุก ๆ ๒๐ มวน ในห้องที่มีอากาศไม่ถ่ายเทจะทำให้ผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องหายใจเอาควันบุหรี่เข้าไปเป็นปริมาณเท่ากับการสูบบุหรี่ ๑ มวน ดังนั้นครอบครังหรือคนรอบข้างของผู้สูบบุหรี่จึงต้องได้รับโทษของบุหรี่ไปด้วย บุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การติดยาเสพติดตัวอื่น ๆ อีกด้วยนอกจากนั้นปัจจุบันพบว่า มีผู้หญิงสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ฤทธิ์แอนตี้เอสโตรเจนของบุหรี่จะอกฤทธิ์ต้านการทำงานของรังไข และต่อมพิทุยทารี (Pituitary gland) ทำให้มีประจำเดือนผิดปกติ และยังพบอุบัติการณ์ของการผ่าเอามดลูกออก มีบุตรยาก กระดูกผุ การตั้งครรภ์ของมดลูก เด็กของมารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ ๒๐๐ กรัม และพบว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนดและตายตลอดมากกว่าธรรมดา

ข้อแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่

การเลิกสูบบุหรี่มิใช่เรื่องยาก เพียงแต่ท่านตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะเลิกโดยเด็ดขาด ท่านก็จะสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยตัวของท่านเอง โดยอาจปฏิบัติตนดังนี้

  1. ตั้งใจ ตัดสินใจแน่วแน่ว่าต้องการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง
  2. กำหนดวันปลอดบุหรี่ของตนเอง อาจเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันเกิดตนเองหรือ บุตร ภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงเวลาที่งานเครียด
  3. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อมิให้สื่อเหล่านี้มากระตุ้นความอยากบุหรี่อีก
  4. แจ้งแก่คนในครอบครัว ที่ทำงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงานเพื่อให้เป็นกำลังใจเป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ
  5. ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด และเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป ไม่ควรนั่งโต๊ะอาหารนาน ๆ เพราะหลังอาหารทุกมื้อจะเกิดความอยากบุหรี่อีก
  6. ในช่วงแรกที่อดบุหรี่ จะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้าออกลึก ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดความอยาก หรืออาจอาบน้ำ
  7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำ เพื่อคลายเครียดเพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่น้ำหนักตัวจะขึ้น การออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร รวมทั้งการลดอาหารหวาน จะเป็นการควบคุมน้ำหนักได้ทางหนึ่ง

หากทำแล้วรู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายใจ ควรปฏิบัติดังนี้

  1. อาบน้ำทันที
  2. หายใจเข้าออกลึก ๆ และกลั้นไว้นาน ๆ
  3. เปลี่ยนอิริยาบถ ทำกิจกรรมอื่นที่ไม่น่าเบื่อ
  4. ทำใจให้สบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด
  5. อย่าท้อแท้ อย่าคิดว่าสูบบุหรี่เพียงนิดหน่อย หรือนาน ๆ ครั้ง คงไม่เป็นไร
  6. พึงระลึกอยู่เสมอว่า "งดบุหรี่ได้ ๕ นาที คือนิมิตหมายที่ดีของการเลิกสูบบุหรี่"

บางท่านที่มีความตั้งใจสูงที่จะเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ แต่เมื่อเลิกสูบแล้วหงุดหงิด ท้อแท้มากจนเสียการงานหรือสูญเสียความสัมพันธ์กับคนอื่น หากเป็นไปได้กรุณาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้คำแนะนำ รวมทั้งยาต่าง ๆ ที่ช่วยลดอารมณ์เศร้า ท้อแท้ การนอนไม่หลับ หรืออาการอื่น ๆ ได้ ในระหว่างที่กำลังเลิกสูบบุหรี่นั้น สิ่งแวดล้อมที่ดี เข้าใจไม่ทำให้เครียด คอยกระตุ้นเตือน ปลอบให้กำลังใจส่วนใหญ่แล้วไม่เกิน ๒ สัปดาห์ ก็จะพ้นระยะของความท้อแท้ หงุดหงิด และท่านที่มีความตั้งใจจริงก็มักจะเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด

ยาเสียตัว ( Alprazolam )

Alprazolam : 'ยาเสียตัว' ที่ฮิตของวัยโจ๋!

เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีพาดหัวข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ และทีวี เกี่ยวกับการระบาดของยาตัวหนึ่ง ในกลุ่มวัยรุ่นต่างจังหวัด โดยให้ฉายา ชื่อยาตัวนี้ว่า 'ยาเสียตัว' โดยการที่นักเรียนชายได้ใช้ผสมในเครื่องดื่ม เพื่อให้นักเรียนหญิงเกิดอาการเมามาย ไม่รู้เรื่อง และจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองไม่ได้ ฮิตติดตลาดขนาดที่ว่ามีการซื้อขายกันอย่างแพงลิบลิ่ว ถึงเม็ดละ 50-1000 บาทแล้วแต่สถานการณ์ เราลองมาทำความรู้จักกับยาตัวนี้กันหน่อยนะครับ

ยาเสียตัว

  • 'ยาเสียตัว' ที่ว่านี้มีชื่อทางยาว่า Alprazolam มีชื่อการค้าที่รู้จักกันดีว่า Xanax และมีชื่อการค้าอื่น ๆ อีกคือ alcelam, Anpress, Dizolam Atlantic, Pharnax, Siampraxol, Xiemed ลักษณะจะเป็นเม็ดสีขาวรีๆ หรือเม็ดสีม่วงรีๆ และอาจจะมีสีอื่นๆ บ้าง
  • Alprazolam จัดเป็นยากลุ่มที่แพทย์ใช้ในการคลายกังวล, เป็นยาเสริมในการรักษาอาการซึมเศร้า, ใช้ในการจัดการความกลัวและความกังวลอย่างมาก ถือเป็นยาตัวหนึ่งในกลุ่มยาที่เรียกว่า Antianxiety drugs ซึ่งได้แก่ Alprazolam, Diazepam, Lorazepam, Midazolam, Perphenazine, Prazepam, Quazepam, Temazepam.
  • Alprazolam จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 4 ที่ต้องควบคุม และสามารถจ่ายได้โดยแพทย์ และเภสัชกรเท่านั้น แต่ต้องมีหลักฐานการสั่งซื้อและสั่งจ่าย รายงานต่อ อ.ย. ทุกเดือน ว่าใช้กับใคร ปริมาณเท่าไหร่ ถ้าฝ่าฝืนจะมีความผิตตามพรบ. ยาและ วัตถุออกฤทธิ์ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา
  • ปริมาณที่แพทย์ใช้ในการรักษาที่ได้ผลในการคลายกังวล คือ ขนาด 0.5 - 4 mg/วัน ( 1 เม็ด ประกอบด้วย Alprazolam 0.25 Mg.) โดยแพทย์มักจะเริ่มให้รับประทานที่ 0.25 - 0.5 mg ( 1-2 เม็ด) วันละ 3 ครั้งโดยขนาดยาสูงสุดไม่ควรจะเกิน 4 mg/วัน ( 16 เม็ด) โดยจะออกฤทธิ์หลังรับประทานยาประมาณ 1-2 ชั่วโมง และจะมีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 12 –15 ชั่วโมง แล้วจะถูก Metabolite ที่ไต แล้ว ขับออกจากร่างกายจนหมดทางปัสสาวะ

ผลข้างเคียงที่พบได้ ( มากกว่า 10% ) มีดังนี้

  1. ระบบหัวใจและหลอดเลือด : หัวใจเต้นเร็ว, ปวดหน้าอก
  2. ระบบประสาทส่วนกลาง : ง่วงนอน, การเคลื่อนไหวไม่ประสานงานกัน, ตาแพ้แสง, ความจำเสื่อมชั่วขณะ, นอนไม่หลับ, กังวล, ซึมเศร้า, ปวดหัว,
  3. ระบบผิวหนัง : ผื่นขึ้น
  4. ระบบต่อมไร้ท่อและการ Metabolic : ความต้องการทางเพศลดลง
  5. ระบบทางเดินอาหาร : ปากแห้ง, ท้องผูก, ลดการหลั่งของน้ำลาย, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, เพิ่มหรือลดความอยากอาหาร
  6. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ : พูดตะกุกตะกัก
  7. ระบบการมองเห็น : การมองภาพไม่ชัด
  8. อื่น ๆ : เหงื่อออกมาก

ผลเสียที่อาจจะเกิดได้

ทำให้เกิดการเสพติดได้ ทำให้เกิดอาการง่วงซึม หากรับประทานยา เกินขนาดจะทำให้เกิดอาการง่วงนอนมาก สับสน, Coma, การตอบสนองของร่างกายลดลง และอาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้นการจะเลือกใช้ยาตัวนี้ ควรควรใช้ภายใต้การดูแลของจิตแพทย์ ควรไปพบแพทย์อย่างน้อย 1-2 เดือนต่อครั้ง แพทย์ผู้รักษาหรือผู้ให้การบำบัดจะแนะนำให้หยุดยาเมื่อเห็นสมควร

วิธีสังเกตอาการของผู้ใช้ยาเสพติด

วิธีสังเกตว่า ผู้ใดใช้หรือเสพติดยาเสพติด สามารถสังเกตได้จากความเปลี่ยนแปลงหรือ ลักษณะอาการและสิ่งที่ตรวจพบ ดังต่อไปนี้คือ

๑. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ นิสัย ความประพฤติ และบุคลิกภาพ

  • เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจ ขาดเหตุผล
  • ขาดเรียน ชอบหนีโรงเรียน หรือขาดงานบ่อย ๆ จนผิดปกติ
  • ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
  • ความคิดเชื่องช้า สิตปัญญาเสื่อมลง ความจำเสื่อม มีผลให้การเรียน หรือการทำงานบกพร่อง
  • พูดจาเชื่อถือไม่ได้ พูดไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่สนใจต่อสั่งแวดล้อม ขาดความรับผิดชอบ
  • มักเก็บตัวเองเงียบ ๆ หลบซ่อนตัวเอง ทำตัวปกปิดลึกลับ
  • ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
  • พบอุปกรณ์เกี่ยวกับการเสพยา เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษซองตะกั่ว ซากก้านไม้ขีดจำนวนมาก เศษกระดาษไหม้ไฟ หลอดกาแฟตัดเป็นท่อนสั้น ๆ ฯลฯ
  • พูดจาก้าวร้าว ดื้อรั้น ผิดไปจากเดิม
  • ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายไม่เรียบร้อย สกปรกไม่ค่อยอาบน้ำ
  • นิสัย มีข้ออ้างในการออกนอกบ้านเสมอ ชอบเที่ยวเตร่กลับบ้านผิดเวลา
นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล