ประวัติยาเสพติด ความหมาย ความรู้ยาเสพติด ตอน 1

by Wisut @29-8-48 14.28 ( IP : 203...33 ) | Tags : สาระน่ารู้
photo  , 120x160 pixel , 200,107 bytes.

ประวัติของยาเสพติด

ยาหรือสารที่ถูกนำมาใช้อย่างผิด ๆ หรือเสพติดมีใช้กันมานาน ตั้งแต่มนุษย์เริ่มค้นพบพืชซึ่งเมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้ ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป ในสมัยโบราณยาหรือสารเหล่านี้มักจะใช้ในพิธีทางศาสนา เช่น ผู้ทำพิธีทางศาสนา ของชาวอินเดียแดงในอเมริกากลาง ใช้ต้นไม้จำพวกกระบองเพชรซึ่งมีสารหลอนประสาท ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนเห็นภาพต่าง ๆ และเข้าใจว่าตนสามารถติดต่อกับวิญญาณหรือเทพเจ้าได้ ชาวอินเดียนแดงเผ่าอินคา (Incas) ในอเมริกาใต้เคี้ยวใบโคคา (COCA) ซึ่งมีโคเคน โดยถือว่าเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้ แต่แรกใบโคคานี้ใช้เฉพาะในหมู่พวกกษัตริย์ของเผ่า แต่ต่อมาเมื่อประเทศสเปนเข้าครอบครองชนเหล่านี้ ใบโคคาก็ถูกนำมาใช้ในหมู่ชาวอินเดียนแดงทั่วไปเพื่อช่วยให้พวกเขามีกำลังทำงานหนักรับใช้ชาวสเปนได้ เมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าขึ้นยาหรือสารเสพติดก็เพิ่มปริมาณและชนิดขึ้น และมีการนำมาใช้อย่างผิด ๆ หรือเสพติดกันมาก ตัวอย่างเช่น ฝิ่น เป็นที่รู้จักและจำหน่ายมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาลโดยชาวเมโสโปเตเมีย
(๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช) และแพร่หลายและรักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคบิด โรคติดสุรา ฯลฯ ได้ นานทีเดียวกว่าอังกฤษจะรู้ฤทธิ์ในการเสพติดของฝิ่น และเมื่อนั้นฝิ่นก็ถูกนำไปใช้เพื่อการเสพติด โดยอังกฤษพยายามนำเอาไปแพร่ ในเมืองจีนเพื่อให้ชาวจีนติดฝิ่น และตนเองผูกการค้าฝิ่นแต่ผู้เดียว จนกระทั่งเกิดสงคราม ฝิ่นกับประเทศจีนในปี ค.ศ.๑๘๓๙ - ๑๘๔๒


ประเทศไทยก็มีประวัติการเสพฝิ่นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา (พระเจ้าอู่ทอง) ประมาณ ๖๐๐ ปีเศษมาแล้ว ในสมัยนั้นก็มีหลักฐานว่าพระมหากษัตริย์ทรงเล็งเห็นโทษของการเสพฝิ่น และทรงลงโทษผู้เสพติดเช่นกัน ระหว่างสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา (American civil war) ค.ศ. ๑๘๖๑ - ๑๘๖๕ เริ่มมีการนำเข็มฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมาใช้ ทำให้มีผู้นำมอร์ฟีนมาใช้ในลักษณะยาเสพติด ต่อมาเมื่อคนรู้จักการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เฮโรอีนซึ่งเป็น diethylated form ของมอร์ฟีนก็ถูกนำมาใช้แทนมอร์ฟีน

กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีการนำเอาโบรไมด์ (Bromide) มาใช้เป็นยาสงบประสาทและรักษาโรคลมชัก ซึ่งได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับยาวาเลียม (Valium) และยาริเบรียม (Librium) ในปัจจุบัน แต่โบรไมด์สำสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิกลจริต และลายสมองอย่างถาวรด้วย ในระยะใกล้เกียงกันก็มีผู้ผลิตยาบาร์บิทุเรท (Barbiturate) และยาสงบประสาทตัวอื่น ๆ และได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยผู้ใช้ไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการเสพติดของยาเหล่านี้

ปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๙ มีผู้พบโคเคนและกัญชาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้จิตใจสบายโคเคนพบว่ามีประโยชน์ทางการรักษาโรคด้วยโดยใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นโคเคนจึงเป็ฯที่นิยมใช้เป็นผลให้มีการเสพติดโคเคน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ แอมเฟตามีนถูกนำมาใช้ในกองทหารญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา พอหลังสงครามยาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นกักตุนไว้มาก็ทะลักสู่ตลาด ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นใช้ยากันมาก ในปี ค.ศ.๑๙๕๕ คาดว่ามีชาวญี่ปุ่นติดแอมเฟตามีนราวร้อยละ ๑ ระหว่าง ค.ศ.๑๙๖๐ - ๑๙๗๐ ในประเทศสวีเดนมีการใช้ยา Phenmetrazine (Preludin) ซึ่งคล้ายแอมเฟตามีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ในสหรัฐเมริกาพวกฮิปปี้ซึ่งเคยนิยมใช้ แอลเอสดี (LSD) หรือ Lysergic Acid Diethylamide) ก็ค่อย ๆ หันมาใช้แอมเฟตามีนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นกัน

ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๖๐ - ๑๙๗๐ ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง ค.ศ. ๑๙๗๐ ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวันรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmannเป็นผู้ค้นพบในปี ค.ศ.๑๙๕๓ เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วนด้วย เพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด "Repression" ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหามากในเมริกา

เนื่องจากกัญชาซึ่งเป็นยาช่วยให้ผู้เสพรู้สึกเป็นสุขและความรู้สึกไวขึ้น เป็นยาที่หาได้ง่าย จึงมีการลักลอบใช้อย่างผิดกฎหมายกันมาในเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๖๐ เป็นต้นในยุโรปก็เช่นกัน เพิ่งจะมีการใช้กัญชาในเวลาไล่เลี่ยกันนี้ โดยทหารของกษัตรย์นโปเลียนเป็นผู้นำมาจากประเทศอียิปต์ทั้ง ๆ ที่กัญชาเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในประเทศอินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกกลางมาก่อนหลานศตวรรษ ในสหรัฐนิยมใช้ในคนบางกลุ่ม เช่น พวกนักดนตรีแจ๊ส และพวกเม็กซิกันอพยพมาอยู่ในสหรัฐ ในฝรั่งเศสเป็นที่นิยมใช้ในกลุ่มนักประพันธ์

ถ้าจะนับตามจำนวนผู้เสพติดหรือผู้ใช้ยาอย่าง ๆ ผิด ๆ สุราและบุหรี่ น่าจะเป็นสารสำคัญของปัญหานี้ แต่เนื่องจากราคาย่อมเยา สามารถหามาเสพได้ง่ายกว่า และไม่ผิดกฎหมาย ทำให้สาร ๒ ชนิดนี้ ดูจะไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก แต่กัญชา ยาหลอนประสาท และเฮโรอีน จำนวนผู้ใช้และผู้เสพติดน้อยกว่ากลับเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮโรอีนกำลังเป็นปัญหามากในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ทั้งนี้เพราะเป็นสารซึ่งมีราคาแพงและผิดกฎหมาย ทั้งอำนาจในการเสพติดก็สูงและวิธีบางวิธียังอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพจึงก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการแพทย์ จนต้องจัดเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศอย่างหนึ่งที่ต้องรีบแก้ไข

ความหมายของยาเสพติดให้โทษ

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ กำหนดความหมายของคำว่า ยาเสพติดให้โทษ ไว้ดังนี้ คือ สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธี รับประทาน ดม สูบ หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น

  • ผู้ที่เสพยา ต้องเพิ่มขนาดการเสพติดมากขึ้นเป็นลำดับ
  • ผู้ที่เสพยา จะเกิดอาการถอนยา เมื่อหยุดใช้ยา หรือขาดยา
  • ผู้ที่เสพยา จะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
  • ผู้ที่เสพยา จะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง
  • หรือกล่าวได้ว่าเป็นยาหรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่ผู้นั้นใช้อยู่ประจำแล้วยาหรือสารนั้นทำให้มีความผิดปกติที่ระบบประสาทกลางซึ่งจะถือว่าผู้นั้นติดยากเสพติด ถ้ามีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย ๓ ประการคือ
  • หรือกล่าวได้ว่าเป็นยาหรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่ผู้นั้นใช้อยู่ประจำแล้วยาหรือสารนั้นทำให้มีความผิดปกติที่ระบบประสาทกลางซึ่งจะถือว่าผู้นั้นติดยากเสพติด ถ้ามีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย ๓ ประการคือ ผู้ป่วยจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยาหรือสารนั้นมาไว้ แม้เป็นวิธีที่ผิดกฎหมาย เช่นลักขโมยก็จะทำ
  • ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติได้เนื่องจากมีอาการพิษหรืออาการขาดยาหรือสารนั้น
  • พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป เช่น หยุดงานบ่อย หรือไม่เอาใจใส่ครอบครัว
  • ผู้ป่วยต้องเสพยาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (มี Tolerance)
  • เมื่อหยุดเสพหรือลดปริมาณการเสพลงมา จะเกิดอาการขาดยาหรือสารนั้น (Winthdrawal Symptom)

ประเภทของยาเสพติด

  1. ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ แบ่งยาเสพติดให้โทษออกเป็น ๕ ประเภทดังนี้ คือ

- ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน อีทอร์ฟีน อะซีทอร์ฟีน ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทรษชนิดร้ายแรง) - ประเภทที่ ๒ ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเดอีน ไดฟีน๊อคซีเลท เอธิลมอร์ฟีน ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไป) - ประเภทที่ ๓ ได้แก่ ยาแก้ไอ แอแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่น โคเดอีน หรือไดฟีน๊อคซีเลทเป็นส่วนผสม ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยา ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ปรุงผสมอยู่ด้วย) - ประเภทที่ ๔ ได้แก่ อะเซติคแอนไฮไดรด์ อะเซติลคลอไรด์ (จัดเป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ หรือประเภท ๒) - ประเภทที่ ๕ ได้แก่ พืชกัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท ๑ ถึงประเภท ๔) 2. ตามวิถีการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ออกฤทธิ์กดประสาท (Depressants) พวกนี้จะออกฤทธิ์กดประสาทสมองศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง และประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย ยาพวกนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และเซโคบาร์บิทาล (Secobarbital) ซึ่งเรียกกันในหมู่ใช้ว่า "ปีศาลแดง" หรือ "เหล้าแห้ง" ไดอะซีแพม ทินเนอร์ กาว ฯลฯ

ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Stimulants) จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลางโดยตรง กระตุ้นการเต้นของหัวใจ และอารมณ์ด้วย เช่น แอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ยาม้า" หรือ "ยาขยัน" อีเฟดรีน โคเคน ฯลฯ

ออกฤทธิ์หลอนประสาท (Hallucinogen) จะออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ทำให้มีการรับรู้ความรู้สึก (Perception) ผิดไป เกิดอาการประสาทหลอน หรือแปลสิ่งเร้าผิด (illusion) ได้แก่ แอลเอสดี (Lysergicacid dietyhlamide) แกสโซลีน (Gasoline) เปลือกกล้วย ยางมะละกอ และ แฟนไซคลิดีน (Phencylidine) ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ฯลฯ

ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม เมื่อใช้น้อย ๆ จะกระตุ้นประสาท หากใช้มากขึ้นจะกดประสาทและถ้าใช้มากขึ้นอีกก็จะเกิดประสาทหลอนได้

  1. องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งยาหรือสารเสพติด ออกเป็น

- ประเภทฝิ่น หรือมอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทธีดีน - ประเภทบาร์บิตูเรต รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล พาราลดีโฮด์ เมโปรมาเมต ไดอะซีแพม คลอดไดอะซีป๊อกไซด์ - ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ - ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน (ยาม้า) เดซ์แอมเฟตามีน - ประเภทโคเคน เช่น โคเคน ใบโคคา - ประเภทกัญชา เช่น ยอดช่อดอกกัญชาตัวเมีย - ประเภทคัด (KHAT) เช่น ใบคัด ใบกระท่อม - ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ลำโพง เห็นเมาบางชนิด - ประเภทอื่น ๆ เป็นพวกที่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซีน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี

นอกจากนั้นทางกฎหมาย ยังได้กำหนด "วัตถุออกฤทธิ์" ซึ่งตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แบ่งวัตถุออกฤทธิ์ ออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

  • ประเภทที่ ๑ เช่น อีอีที (DET) แอลเอสดี (LSD) ๓-๔ เมทิลลินไดออกซิเมท แอมเฟตามีน (๓,๔ - methylenedioxymethamphtamine, MDMA
  • ประเภทที่ ๒ เช่น แอมเฟตามีน (Amphetamine) เซโคบาร์บิตาล (Secobarbital) เลโวเมทแอมเฟตามีน (Levomethamphetamine)
  • ประเภทที่ ๓ เช่น อะโมบาร์บิตาล (Amobarbital) ไซโคลบาร์บิตาล (Cyclobarbital) คาทิน (Cathine) ประเภทที่ ๔ เช่น แอมฟรีพราโมน (Amfepramone) บาร์บิตาล (Barbital) โพโรวาเลโรน (Pyroalerone

ยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ที่แพร่ระบาดในสังคมไทย

  • มอร์ฟีน (MORPHINE)
  • โฮโรอีน (HEROIN)
  • โคเคน (COCAINE)
  • กัญชา (CANNABIS)
  • กระท่อม (KRATOM)
  • เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)
  • แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)
  • อีเฟดรีน (EPHEDINE)
  • แอลเอสดี (LSD)
  • บาร์บิทูเรต (BARBITIRATE)
  • สารระเหย (VOLATILE SOLVENT)
  • สุรา (Alcohol)
  • บุหรี่

ฝิ่น (OPIUM)

ลักษณะทั่วไป

ฝิ่น ต้นฝิ่นเป็นพืชล้มลุก นิยมปลูกกันทางภาคเหนือของประเทศไทย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตราพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) เนื้อฝิ่นได้มาจากยางที่กรีดจากผล (กระเปาะ) ฝิ่น มีสีน้ำตาล กลิ่นเหม็นเขียว รสขม เรียกว่าฝิ่นดิบ และหากนำฝิ่นดิบมาต้ม เคี่ยวหรือหมัก จะได้ฝิ่น ที่มีสีน้ำตาลไหม้ปนดำ มีรสขมเฉพาะตัว เรียกวาฝิ่นสุก ทั้งฝิ่นดิบและฝิ่นสุก มีฤทธิ์ในการ กดระบบประสาท ในอดีตทางการแพทย์ใช้เป็นยาระงับอาการปวด แก้โรคท้องเดินและไอ

อาการผู้เสพติดฝิ่น

ฝิ่น ผู้ที่เสพฝิ่น ขณะที่เสพฝิ่นเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ซึม ง่วง พูดจาวกไปวนมา อารมณ์ดี ความและการตัดสินใจเชื่องช้า

ผู้ที่เสพฝิ่นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สุขภาพร่างกายจะทรุดโทรม ตัวซีดเหลือง ซูบผอม ดวงตาเหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ อ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า ง่วงเหลาหาวนอน เกียจคร้าน อารมณ์แปรปรวนง่าย พูดจาไม่อยู่กับร่องกับรอย ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกตัว และหากไม่ได้เสพฝิ่นเมื่อถึงเวลาจะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย บางรายมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง ดิ้นทุรนทุราย น้ำมูกน้ำตาไหล ม่านตาขยายผิดปกติ ปวดตามกล้ามเนื้อตามกระดูก ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หายใจลำบาก อาจชักและหมดสติได้

มอร์ฟีน (MORPHINE)

ลักษณะทั่วไป

มอร์ฟีน เป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะเป็นผงสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำง่าย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) มีฤทธิ์ในการกดประสาทและสมองรุนแรงกว่าฝิ่น ประมาณ ๘-๑๐ เท่า เสพติดได้ง่าย มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น อัดเป็นเม็ด เป็นผง เป็นแท่งสี่เหลี่ยมมีเครื่องหมาย 999 หรือ OK เป็นสัญลักษณ์ และชนิดน้ำบรรจุหลอด

อาการผู้เสพติดมอร์ฟีน

มอร์ฟีน ผู้ที่เสพมอร์ฟีน ระยะแรกฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะช่วยลดความวิตกกังวล คลายความเจ็บปวดต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้มีอาการง่วงนอนและหลับง่าย และหากเสพจนเกิดอาการติด ฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะทำให้ผู้เสพมีอาการเหม่อลอย เซื่องซึม จิตใจเลื่อนลอย เกียจคร้านไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบกายสุขภาพร่างกายผ่ายผอม ทรุดโทรม และเมื่อไม่ได้เสพจะเกิดอาการกระวนกระวาย ความคิดสับสนพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง หูอื้อ นอนไม่หลับ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจชักและหมดสติในที่สุด

โฮโรอีน หรือ ผงขาว (HEROIN)

ลักษณะทั่วไป

โฮโรอีน เฮโรอีนเป็นยาเสพตดให้โทษชนิดร้ายแรง ประเภท ๑ (ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) เฮโรอีนได้จากการสังเคราะห์ตามกรรมวิธีทางเคมี ฤทธิ์ของเฮโรอีนมีความรุนแรงกว่ามอร์ฟีน ประมาณ ๔-๘ เท่าและรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ ๓๐-๘๐ เท่า เฮโรอีนที่แพร่ระบาดในปัจจุบันมี ๒ ชนิด คือ

  1. เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนเบอร์ ๔ มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว ชนิดนี้จะมีเนื้อเฮโรอีนสูงถึง ๙๐ - ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีกลิ่น รสขมจัด (นิยมเรียกว่า ผงขาว) มักบรรจุอยู่ในถุงห่อกระดาษ พลาสติก หรือหลอด ฯลฯ นิยมเสพโดยวิธี ฉีด สูบ ฯลฯ
  2. เฮโรอีนผสม หรือเฮโรอีนเบอร์ ๓ นิยมเรียนกันทั่วไปว่า แค๊ป ไอระเหย ลักษณะเป็นเกล็ด ไม่มีกลิ่น มีหลากสีต่าง ๆ กัน เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน สีดินลูกรัง ฯลฯ ชนิดนี้มีเนื้อเฮโรอีนประมาณ ๕ - ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นเฮโรอีนไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากมีสารพิษประเภทสารหนู สติ๊กนิน กรดประสานทอง ฯลฯ เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย มักจะพบบรรจุอยู่ในซองพลาสติกหรือห่อกระดาษ นิยมเสพโดยวิธีสูดไอระเหย

อาการผู้เสพติดเฮโรอีน

โฮโรอีน เฮโรอีน เป็นยาเสพติดที่ร้ายแรง เสพติดได้ง่ายเมื่อใช้เพียง ๑ หรือ ๒ ครั้ง อาจทำให้เกิดอาการมึนงงเซื่องซึม ง่วง เคลิ้มหลัดได้เป็นเวลานาน ไม่สนใจต่อสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง บางรายเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาลาย สำหรับผู้ที่เสพจนติด เสพเป็นประจำร่างกายจะทรุดโทรม ผอมตัวซีดเหลือง ของตาคล้ำ ดวงตาเหม่อลอย น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว สมองและประสาทเสื่อม ความคิดสับสน ความจำเสื่อม อ่อนเพลียไม่มีแรง และหากใช้ยาเกิดขนาด ฤทธิ์ของเฮโรอีนจะทำให้หัวใจหยุดทำงาน เกิดอาการ "ช็อค" ถึงแก่ความตายได้ทันที สำหรับอาการขาดยาหรือไม่ได้เสพยาเมื่อถึงเวลาเสพ ผู้เสพติดเฮโรอีนจะเกิดอาการทุรนทุราย ทุกข์ทรมาน น้ำมูก น้ำตาไหล ความคิดฟุ้งซ่าน สับสน หงุดหงิด กระวนกระวาย ปวดเจ็บตามกล้ามเนื้อตามกระดูก ปวดท้องอย่างรุนแรง หูอื้อ ตาพร่ามัว อาเจียนอย่างรุนแรง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด นอนไม่หลับ บางรายมีอาการเพ้อคลั่ง ชักและหมดสติอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

โคเคน (COCAINE)

ลักษณะทั่วไป

โคเคน โคเคนหรือโคคาอีน เป็นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จากการสังเคราะห์ส่วนใบของต้นโคคา (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) นิยมปลูกกันมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง เช่น ประเทศโบลิเวีย เปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการผลิตโคเคน ประเทศเปรูและโบลิเวีย จะเป็นแหล่งแปรสภาพใบโคคาเป็น COCA PASTE และ COCA BASE ไปแปรสภาพเป็น COCAINE HYDROCHLORIDE อันเป็นโคเคนบริสุทธิ์ มีฤทธิ์ในการ กระตุ้นประสาทส่วนกลาง เช่นเดียวกับ แอมเฟตามีน (ยาม้า) แต่ทำให้เกิดอาการติดยาได้ง่ายกว่า โคเคนหรือโคคาอีนนิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า COKE , SNOW , SPEED BALL , CRACK ฯลฯ มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น มักนิยมเสพโดยใช้วิธีสูบ ฉีด หรือสูดพ่นเข้าไปในจมูก ฯลฯน

อาการผู้เสพติดโคเคน

โคเคน ผู้เสพติดโคเคนเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกฤทธิ์ของโคเคนจะกระตุ้นประสาททำให้เกิดอาการไร้ความรู้สึก ดูเหมือนคล้ายมีกำลังมากขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาร่างกายและความรู้สึกจะอ่อนเพลียเมื่อยล้าขึ้นมาทันที มีอาการเซื่องซึมและหากว่าเสพจนถึงขั้นติดยาจะเกิดผลต่อร่างกายอย่างมาก เช่น หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง ตัวร้อน มีไขตลอดเวลา นอนไม่หลับ ฯลฯ และหากเสพโคเคนเข้าสู่ร่างกายเกิดขนาดจะเกิดพิษเฉียบพลัน ฤทธิ์ของยาจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้หายใจไม่ออกอาจชัก และเสียชีวิตได้[/color]

กัญชา (CANNABIS)

ลักษณะทั่วไป

กัญชา กัญชาเป็นพืช ล้มลุกจำพวกหญ้าชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น THAISTICKS,MARY - JANE หรือที่นิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า เนื้อ (จัดเป้นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะใบกัญชา จะเรียวยาวแตกเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันสำปะหลัง ส่วนที่นำมาใช้เสพก็คือ ใบและยอดช่อดอกตัวเมีย โดยการนำมาตากหรืออบแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบ ๆ นำมามวนบุหรี่สูบ หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บางรายใช้เคี้ยว หรือเจอืปนกับอาหารรับประทาน ในกรณีที่เสพติดด้วยวิธีการสูบ กลิ่นกัญชาจะเหมือนกับเชือกหรือหญ้าแห้งไหม้ไฟ กัญชาจะออกฤทธิ์หลายอย่างผสมผสานกัน เริ่มตั้งแต่ กระตุ้น กด และหลอนประสาททั้งนี้เนื่องจากในช่อดอกและใบกัญชามีสารพิษที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งเรียกว่า TETRAHYDROCANNABINOL (THC) เป็นสารพิษที่ทำลายสุขภาพร่างกายและก่อให้เกิดอาการติดยาผู้ที่เสพกัญชาเข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ ๑๕ - ๓๐ นาที ฤทธิ์ของสาร THC จะทำให้ร่างกาย อารมณ์และจิตใจผู้เสพเปลี่ยนแปลงไป บางรายอาจถึงขั้นไม่สามารถควบคุมสติตนเองได้ อาจเพ้อคลั่ง มีอาการเป็นโรคจิในเวลาต่อมา

อาการของผู้เสพติดกัญชา

กัญชา ผู้ที่เสพกัญชาในระยะแรกของการเสพ ฤทธิ์ของกัญชาจะกระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการร่างเริง ช่างพูด หัวเราะง่าย หัวใจเต้นเร็ว ตื่นเต้นง่าย ต่อมาจะมีอาการคล้ายคนเมาเหล้าอย่างอ่อนเนื่องจากกัญชา ออกฤทธิ์กดประสาทผู้เสพจะมีอาการง่วงนอน ซึม หายใจถี่เห็นภาพลวงตา ภาพหลอนต่าง ๆ เกิดอาการ หู่แว่ว ตกใจง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง บางรายคลื่นไส้อาเจียนความจำเสื่อมความคิดสับสนเพ้อคลั่ง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้มีอาการทางจิต นอกจากนี้สารพิษในกัญชายังทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ติดโรคอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอดทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงเกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและพันธุกรรม

กระท่อม (KRATOM)

ลักษณะทั่วไป

กระท่อม กระท่อมเป็นพืชยืนต้นขนาดกลางชนิดหนึ่ง พบมากในแถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ไทย ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะใบคล้ายใบกระดังงาหรือใบฝรั่ง มีดอกกลมโตเท่าผลพุทรา มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย การเสพจะใช้ส่วนที่เป็นใบเคี้ยวสด หรือตากแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบนำไปผสมกับน้ำร้อนดื่มแทนใบชาจีน พืชกระท่อมมีอยู่ ๒ ชนิด คือ

กระท่อม

  1. ชนิดก้านแดง มีลักษณะของก้านและเส้นของใบเป็นสีแดงเรื่อ ๆ
  2. ชนิดก้านเขียว มีลักษณะของก้านและเส้นของใบเป็นสีเขียวตลอด

ใบกระท่อมเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท เนื่องจากใบกระท่อมมีสารอันตรายชนิดหนึ่งเรียกว่า "ไมตราจัยนิน" ทำให้ผู้เสพใบกระท่อมมีความรู้สึกไม่เหน็ดเหนื่อยชณะทำงาน ทำงานได้นาน หายปวดเมื่อยไม่รู้สึกหิว ทนแดดได้นานแต่ไม่ชอบถูกฝนในอดีตแพทย์แผนโบราณใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาโรคบิด ท้องเดินและระงับประสาท

อาการผู้เสพติดกระท่อม

ผู้เสพใบกระท่อม จะพบว่าร่างกายทรุดโทรมมาก เนื่องจากสุขภาพร่างกายทำงานเกินกำลังลักษณะที่เห็นชัด คือ ผิวหนังตามร่างกายแห้งเกรียมดำ ปากแห้ง แก้มเป็นจุดดำ ๆ และมีอาการนอนไม่หลับ ท้องผูก อุจจาระเป็นสีเขียวคล้ายมูลแพะ และหากเสพเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้สภาพจิตใจสับสนอาจมีอาการทางประสาทและเมื่อไม่ได้เสพจะมีอาการขาดยา ร่างกายจะอ่อนเพลียปวดเมื่อยตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ อารมณ์หงุดหงิด กระวนกระวาย เบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลั[/color]บ

เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)

ลักษณะทั่วไป

เห็ดขี้ควาย เป็นเห็ดพิษที่มักขึ้นอยู่ตามมูลความแห้ง และมีขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกกันในบรรดานักท่องเที่ยวว่า MAGIC MUSHROOM (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะของเห็ดขี้ควายมีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง บริเวณส่วนบนของหัวเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายร่ม จะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำบริเวณก้านตอนบนใกล้ตัวร่ม มีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ สีขาวคล้ายวงแหวนแผ่อยู่รอบก้าน เห็ดขี้ควายพบได้ทั้งในสภาพที่เป็นเห็ดสดและเห็ดตากแห้ง ผู้ที่เสพหรือบริโภคเห็ดชนิดนี้เข้าไปร่างกายจะได้รับสารพิษ เช่นไซโลลีน และไซโลไซลีน ซึ่งเป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ในการหลนประสาท ทำลายระบบประสาทอย่างรุนแรง ผู้เสพติดจะมีอาการมึนเมา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต

อาการผู้เสพติดเห็ดขี้ควาย

ผู้ที่เสพหรือบริโภคเห็ดพิษจะรู้สึกร้อนวูบวาบ ตามเนื้อตัว แน่นหน้าอก ตาพร่า อึดอัดรู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้อาเจียน อาการดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณของการเสพ และสภาพร่างกายของผู้เสพเป็นสำคัญ ในกรณีที่เสพหรือบริโภคเข้าสู่ร่างกายในในปริมาณมาก หรือร่างกายมีภูมิต้านทานน้อยฤทธิ์ของสารพิษอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ และบางรายก็อาจจะเดเพียงอาการมึนเมา เคลิ้ม ประสาทหลอน ตาพร่า ความคิดสับสน มีอาการแปรปรวนทางจิต อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพ้ออาจบ้าคลั่งได้

แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)

ลักษณะทั่วไป

แอมเฟตามีน แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกมีขาว ไม่มีกลิ่น รสขม มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ.๒๕๑๘) มีชื่อเรียกทางการค้าต่าง ๆ กัน เช่น เบนซีดรีน ฟีนามีน ฯลฯ แต่ในกลุ่มผู้ใช้หรือเสพนิยมเรียกกันว่า ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาเพิ่มพลัง ฯลฯ ผงแอมเฟตามีน ๑ กรัม ละลายได้ในน้ำ ๙ ซี.ซี.(มิลลิลิตร) และละลายได้ในแอลกอฮอล์ ๕๐๐ ซี.ซี.(มิลลิลิตร) แต่จะไม่ละลายในอีเทอร์ ผงแอมเฟตามีน (ยาม้า) เมื่อนำมาผลิต-อัดเป็นเม็ดยาแล้วจะมีลักษณะเม็ดยาหายลักษณะ เช่น เมดกลมแบ รูปเหลี่จม รูปหัวใจ หรืออาจเป็นแคบซูล มีสีต่างกัน เช่นสีขาว สีน้ำตาล สีเหลือง สีกระต้ำตาล แต่ที่พบส่วนมากจะเป็นสีขาว เม็ดกลมแบน มีสัญลักษณ์บนเม็ดยา เช่น รูปหัวม้า, LONDON, 99, รูปดาว ฯลฯ ในอดีต วงการแพทย์ใช้แอมเฟตามีนรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเป็นโรคเศร้าซึม โรคง่วงเหงาหาวนอน (NARCOLEPSY) ใช้ลดความอ้วน แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เพราะพบว่าแอมเฟตามีน (ยาม้า) จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีหน้าที่เก็บความจำ ความคิด ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การออกฤทธิ์ของแอมเฟตามีน (ยาม้า) ที่ถึงเกิดขึ้นกับร่างกายผู้เสพนั้น จะมีผลมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณยา ระยะเวลาของการใช้ยา สุขภาพร่างกาย ผู้เสพและเอกลักษณ์ทางเคมีของตัวยาว่ามีมากน้อยเพียงใดเป็นสำคัญ

กลุ่มผู้ใช้หรือหรือเสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) ส่วนใหญ่ได้แก่กลุ่ม ผู้ใช้แรงงาน การเสพสามารถกระทำได้หลายวิธีเช่น การกิน แล้วดื่มน้ำหรือสุราตาม การดองไว้ในเครื่องดื่มบำรุงกำลัง การผสมในกาแฟ หรือนำมาบดแล้วนำไปลนไฟสูดดม เป็นไอระเหย แอมเฟตามีน (ยาม้า) เป็นยาเสพติดอันตรายที่ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวผู้เสพและสังคมส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก การควบคุมหรือมาตราการลงดทษทางกฎหมาย ซึ่งเดิมควบคุมและเอาผิดไว้เฉพาะผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้จำหน่วยและครอบครองเท่านั้น แต่ปัจจุบันในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กำหนดให้สามารถเอาผิดและลงโทษผู้ที่เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) ได้ตามกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อาการของผู้เสพติดแอมเฟตามีน (ยาม้า)

แอมเฟตามีน ฤทธิ์ของแอมเฟตามีน (ยาม้า) จะส่งผลกระทบต่อผู้เสพ ก่อให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้ คือ

  • อาการทางกาย ผู้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) ประมาณ ๒๐ - ๓๐ กรัมต่อวัน จะมีอาการเบื่ออาหาร พูดมาก ตื่นเต้นง่าย มือสั่น คลื่นไส้ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง ไม่รู้สึกง่วง เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง ปากและจมูกแห้ง หน้ามัน ทำงานได้นานเกินกว่าปกติ รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด ท้องเสีย มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย

  • อาการทางจิต เนื่องจากแอมเฟตามีน (ยาม้า) มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาท ส่วนกลางและเป็นยาที่ถูกดูดซึมได้ง่ายการเสพจึงต้องเพิ่มขนาดเสมอ ๆ ซึ่งหากใช้หรือเสพยาม้าติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการทางจิต เป็นโรคหวาดระแวง วิตกกังวล มีอาการประสาทหลอน บางราย เพ้อ คลุ้มคลั่ง เห็นภาพหลอนต่าง ๆ นานา อาจเป็นบ้าไและในขณะที่เกิดอาการดังกล่าวอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ เช่นก่ออาชญากรรม ปล้นจี้ จับตัวประกัน หรือก่ออุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น และหากใช้ยาม้ามากเกิดขนาด หรือใช้ในปริมาณมาก จะทำให้ตัวซีดจนอาจเขียวมีไข้ขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หายใจไม่ออก มือสั่นมาก เดินโซเซ คลื่นไส้อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ อาจชัก หมดสติ หรือเสียชีวิตด้วยอาการของโรคหัวใจวาย หรือหลอดโลหิตในสมองแตก นอกจากนี้ผู้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) ยังมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคตับอักเสบ ไตไม่ทำงาน โรคเกี่ยวกับปอด และเป็นโรคติดเชื้ออื่น ๆ ได้ง่าย

อีเฟดรีน (EPHEDINE) หรือ ยาอี (Extacy)

ลักษณะทั่วไป

อีเฟดรีน เป็นผงละเอียดสีขาว เมื่อนำมาผลิตเป็นเม็ดยาจะมีหลายลักษณะ เช่น เป็นเม็ดกลมแบน ชนิดน้ำบรรจุหลอด และชนิดแคปซูล มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เช่นเดียวกับแอมเฟตามีน (ยาม้า) จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งจากเดิม อีเฟดรีน จัดเปนวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๓ แต่เนื่องจาก ได้มีการนำอีเฟดรีนมาใช้ในทางที่ผิด มีการนำมาเสพแทนแอมเฟตามีน (ย้าม้า) ก่อให้เกิดปัญหาต่อชีวิตและทรัพย์สินส่วนรวมอย่างมากมาย จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และจัดให้อีเฟดรีนทั้งชนิดน้ำและทุกตำรับยาที่มีส่วนผสมของอีเฟดรีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ กำหนด ควบคุมและมีมาตรการลงโทษ เช่นเดียวกับแอเฟตามีน (ยาม้า) อีเฟดรีนนิยมเรียกกันทั่วไปว่า ยาอี ยาเอฟ หรือยาอี้ มักจะแพร่ระบาดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน การเสพจะให้ผสมกับน้ำดื่ม หรือกินพร้อมกับดื่มน้ำตาม

อาการของผู้เสพติดอีเฟดรีน

อีเฟดรีน ผู้เสพยาอีเฟดรีน จะมีอาการคล้ายคลึงเช่นเดียวกับผุ้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) กล่าวคือฤทธิ์ของอีเฟดรีน จะกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ผู้เสพสามารถทำงานได้นานมีอาการตื่นเต้นง่าย ใจสั่น ไม่รู้สึกง่วงนอน เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตสูง ฯลฯ หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดอาการประสาทหลอน เป็นโรคจิต บางรายที่เสพยาเข้าสู่ร่างกายเกิดขนาดจะเกิดอาการประสาทหลอน เป็น โรคจิต บางรายที่เสพยาเข้าสู่ร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการใจสั่น มือเท้าเกร็งและชา ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจลำบาก

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล